มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
มรภ.นศ. ร่วมกับเทศบาลตำบลท่างิ้วจัดกิจกรรมน้อมรำลึกฯ ร.๙ ปลูกมะม่วงหิมพานต์ ๙๙๙ ต้น อนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นถิ่นภาคใต้
วันนี้ (2 ธันวาคม 2565) ณ แหล่งเรียนรู้ชุมชนป้ายาง (๑ ไร่หายจน คนราชภัฏ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับเทศบาลตำบลท่างิ้ว จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฯ ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และ โครงการ อพ.สธ. เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีกิจกรรม : อนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นถิ่นภาคใต้ (มะม่วงหิมพานต์) ๙๙๙ ต้น โดยมี ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรเข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากร ภายใต้การร่วมคิด ร่วมปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย ผ่านระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชและทรัพยากร ที่สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ โดยมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริภายใต้การดำเนินโครงการ กิจกรรมในวันนี้ดำเนินการภายใต้ศูนย์สืบสานงานพระราชดำริและการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และได้รับความร่วมมือจากเทศบาลตำบลท่างิ้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ประชาชน ตำบลท่างิ้ว นักศึกษา เจ้าหน้าที่ คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และภาคีเครือข่าย เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้
ซึ่งโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อพ.สธ.เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2561 อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้การดำเนินโครงการ ได้มีการดำเนินโครงการดังกล่าว ภายในพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย ก่อให้เกิดผลงานด้านวิชาการ เกิดการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งสอดรับกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ด้านการบริการวิชาการและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 อีกทั้งสอดคล้องพระราชปณิธาน พระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และ รัชกาลที่ ๑๐ ในการส่งเสริมและสนับสนุนและสนองงานตามแนวพระราชดำริ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ครอบคลุมมิติด้านสังคม การศึกษา เศรษฐกิจและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างสมดุล ยั่งยืน